วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่  4
วัน  ศุกร์  ที่ 29  มกราคม  พ.ศ. 2559
เวลา 08.30 น.  -  12.30 น.

เนื้อหา

อาจารย์ให้เขียนชื่อตนเองเปะลงกระดานหน้าห้อง
การนับเลขฮินดูฮารบิก
การติดสติ๊กเกอร์จำนวนตัวเลข
การแยกกลุ่ม มา  ไม่มา
จำนวนเต็ม
การเรียงลำดับ  การจัดหมวดหมู่

ทักษะ
การคิดการบูรณาการทางคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
ทักษะการนับ
การคิด
การเชื่อมโยง
การแบ่งกลุ่ม
การจัดลำดับที่


การประเมิน


การประเมินห้องเรียน
วันนี้ช่วงเช้าไฟที่ตึกคณะไฟดับได้เปิดหน้าต่างเรียนแต่พอสักพักไฟมาก็ปิดหน้าต่างเปิดแอร์เรียนเหมือนเดิม

การประเมินตัวเอง
ดิฉันนำเสนองานเป็นคนแรกรู้สึกตื่นเต้นเล็กที่เป็นคนแรกแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี

การประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและฟังเพื่อนนำเสนองานและมีการจดบันทึก

การประเมินอาจารย์
อาจารย์เป็นคนสอนเก่งมีการยกตัวอย่างการเปรียบเทียบให้นักศึกษาฟังอย่างชัดเชน



เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์















ครั้งที่  3
วัน  ศุกร์  ที่ 22  มกราคม  พ.ศ. 2559
เวลา 08.30 น.  -  12.30 น.
  (ไม่มีการเรียนการสอน เพราะอาจารย์ไปอบรม)

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559



เนื้อหา

เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์ให้ใส่ลิงค์บล็อกให้อาจารย์เพื่อนที่อาจารย์เข้าไปตรวจงานที่ให้นักศึกษาส่ง
เรียนเรื่องการแจงกระดาษแบบ 1 ต่อ 1 การแจก การนับจำนวน  การบวก ลบ กาตั้งคำถาม การแก้ไขปัญหา การเขียนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย  ความหมาย เป็นหัวข้อ



ทักษะ

การแจกกระดาษแบบ 1 ต่อ 1 เพื่อนที่ตัวเด็กจะได้ทำด้วยตัวเองการบวก ลบการลงมือปฎิบัติจากสิ่งรอบๆตัวเอง

การประเมินห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาดบรรยากาศเย็นสบายเหมาะกับการเรียนการสอนและที่นั่งเพียงพอต่อผู้เรียน

การประเมินตัวเอง
มีความตั้งใจต่อการฟังละการลงมือจดบันทึกการเรียนการสอนที่อาจารย์สอน

 การประเมินเพื่อน

เพื่อนๆทุกคนมีส่วนรวมกับการแจกกระดาษการทำงานเพื่อนตั้งใจเป็นผู้ฟังที่ดี



ประเมินอาจารย์
  อาจารย์มาสอนและปล่อยตรงเวลา แต่งกายมาสอนได้เหมาะสมให้คำแนะนำและเทคนิคต่างๆดี 

สรุปตัวอย่างการสอน  (จากวิดีโอ)


คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบมีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์วางแผนแก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมนอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ อีกด้วย
เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่นและสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว โดยวิชาคณิตศาสตร์จะสามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัวได้เป็นอย่างดี
การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต





สรุป (งานวิจัย)  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์

ตามแนวมอนเตสซอรี่     ปริญญานิพนธ์ ของ กมลรัตน์ กมลสุทธ

รูปแบบการเรียนรู้แนวคิดทางคณิตศาสตร์ในห้องเรียนมอนเตสซอรี่ ควรด าเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. จัดประสบการณ์ประสาทรับรู้ที่เป็นรูปธรรมด้วยภาษา 2. มีสัญลักษณ์การเขียนด้วยภาษา 3. ท าให้สัญลักษณ์การเขียนและภาษานั้นในรูปแบบของรูปธรรม 4. ปฏิบัติ 5. ทดสอบการปฏิบัติกิจกรรมของเด็กว่าเด็กได้เรียนรู้และเข้าใจอย่างถูกต้อง กิจกรรมคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 6 ชุดงาน คือ ชุดงาน 1 ต้องให้เด็กเรียนรู้ก่อน โดยล าพัง ชุดงาน 2 3 และ 4 เป็นการท างานควบคู่กันในแนวคู่ขนาน ชุดงาน 5 เป็นงานที่ท าหลังจากที่ท างานหมวดที่ 4 ได้เชี่ยวชาญแล้ว ชุดงาน 6 เป็นงานที่ให้กับเด็ก ก่อนที่เด็กจะไปสู่ระดับประถมศึกษา

ความส าคัญของคณิตศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย มีผู้กล่าวถึงความส าคัญของคณิตศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัยสรุปได้ดังนี้ สิริมณี บรรจง (2549: 1-2) กล่าวถึง การ ให้ความส าคัญของคณิตศาสตร์ว่ามีส่วนส าคัญ อย่างยิ่งในชีวิตประจ าวันของเด็กปฐมวัย ซึ่งทั้งพ่อแม่และครูย่อมตระหนักถึงความส าคัญของ คณิตศาสตร์อยู่แล้วว่า ในการเล่นและการสื่อสารพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามา เกี่ยวข้องในชีวิตประจ าวันอยู่เสมอ จากค าพูดของเด็ กจะพบว่ามีการพูดถึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลขประโยคต่างๆ เหล่านี้ล้ วนน่าสนใจ และแสดงให้เห็นว่า มีการใช้ค าศัพท์ที่เกี่ยวกับ คณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามในชีวิตประจ าวันนั้น มี เด็กปฐมวัยและผู้ใหญ่จ านวนมากที่ไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์ เนื่องจากเรียนได้คะแนนไม่ดีหรือมี ประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ แต่หารู้ไม่ว่าแท้จริงแล้วทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ อยู่เสมอแม้ว่าจะไม่ต้องการก็ตาม เช่น เมื่อต้องใช้ทักษะคณิตศาสตร์ในชีวิตประจ าวันโดยอาจไม่ต้อง เกี่ยวข้องกับตัวเลขเลยก็ได้ เช่น ใช้ทักษะการวัดหรือกะระยะในการกระโดดข้ามท้องร่องข้างถนน

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่  2
วัน  ศุกร์  ที่ 15  มกราคม  พ.ศ. 2559
เวลา 08.30 น.  -  12.30 น.
เนื้อหา  ( สรุปบทความ)


การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
            การจำแนกประเภท
             การจัดหมวดหมู่
           การเรียงลำดับ
             การเปรียบเทียบ
           รูปร่างรูปทรง
         พื้นที่
             การชั่งตวงวัด
              การนับ
             การรู้จักตัวเลข
      รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
       เวลา
.       การเพิ่มและลดจำนวน
เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่  1
วัน  ศุกร์  ที่ 8  มกราคม  พ.ศ. 2559
เวลา 08.30 น.  -  12.30 น.
เนื้อหา
ฝึกทักษะการคิดคณิตศาสตร์การแก้ไขปัญหาด้วยการระดมความคิด
มีหลากหลายแค่การแจกกระดาษก็เป็นกระบวนการความคิดได้เหมือนกัน อาจารย์แนะนำการทำบล์อกให้ถูกต้องและบอกแนวการเรียนที่จะต้องเรียนภายในเทอมนี้และการบ้านคือนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย (บทความ).

ทักษะ
  อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำบล็อกบอกความสำคัญของบล็อกบอกการให้คะแนนของวิชานี้และสอนในเรื่องความรับผิดชอบ

ประเมินห้องเรียน
  ห้องเรียนสะอาดบรรยากาศดีมีโต๊ะเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา

ประเมินตนเอง
  แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน
  เพื่อนตั้งใจฟังเวลาในขณะที่กำลังสอน

ประเมินอาจารย์
  อาจารย์มาสอนตรงเวลาอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียดเข้าใจง่าย