บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 2
วัน ศุกร์ ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559
เวลา 08.30 น. - 12.30 น.
เนื้อหา ( สรุปบทความ)
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ
กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ
เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว
เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง
การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี
ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด
ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
การจำแนกประเภท
การจัดหมวดหมู่
การเรียงลำดับ
การเรียงลำดับ
การเปรียบเทียบ
รูปร่างรูปทรง
พื้นที่
พื้นที่
การชั่งตวงวัด
การนับ
การนับ
การรู้จักตัวเลข
รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
เวลา
.
การเพิ่มและลดจำนวน
เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง
กับการรับรู้เชิงจำนวน ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน
การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน
พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น